วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

สาเหตุและวิธีรักษาโรคตะคริว

ลักษณะทั่วไป
ตะคริว หมายถึง
อาการกล้ามเนื้อเกร็งแข็งและปวดซึ่งจะเกิดขึ้นรวดเร็ว
และมักจะเป็นอยู่เพียงไม่กี่นาที กล้ามเนื้อที่พบเป็นตะคริวได้บ่อย ได้แก่
กล้ามเนื้อน่องและต้นขา ตะคริวเป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก ซึ่งจะพบได้
เป็นครั้วคราวในคนเกือบทุกคน

สาเหตุ
ส่วนมากจะไม่มีสาเหตุร้ายแรง เป็นเพียงชั่วเดี๋ยวเดียวก็หายได้เอง
บางคนอาจเป็นตะคริวที่น่อง ขณะนอนหลับโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด บางคนอาจเป็นหลังออกกำลังมากกว่าปกติหรือนอน นั่งหรือยืนในท่าที่
ไม่สะดวกนาน ๆ (ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก)ผู้ที่มีภาวะแคล
เซียมในเลือดต่ำก็อาจเป็นตะคริวได้บ่อย ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อาจเป็นตะคริว
ได้ บ่อยขึ้น เนื่องจากระดับของแคลเซียมในเลือดต่ำ หรืออาจเกิดจากการไหล
เวียนของเลือดไปที่ขาไม่สะดวกในคนที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
(arteriosclerosis) เช่น คนสูงอายุก็มีโอกาสเป็นตะคริวได้บ่อยขึ้น และอาจ
เป็นขณะที่เดินนาน ๆ หรือขณะที่อากาศเย็นตอนดึกหรือเช้ามืด เนื่องจากการ
ไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่ดี ในผู้ป่วยที่ร่างกายเสียเกลือโซเดียม เนื่องจาก
ท้องเดิน อาเจียน หรือสูญเสียไปทางเหงื่อเนื่องจากความร้อน (อากาศ หรือ
ทำงานในที่ที่ร้อนจัด) อาจเป็นตะคริวรุนแรง คือ เกิดกับกล้ามเนื้อหลายส่วน
ของร่างกายและมักจะเป็นอยู่นาน)

อาการ
ผู้ป่วยอยู่ ๆ รู้สึกกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่ง (เช่น น่อง หรือต้นขา) มีการแข็ง
ตัวและปวดมาก เอามือคลำดูจะรู้สึกแข็งเป็นก้อน ถ้าพยายามขยับเขยื้อนกล้าม
เนื้อส่วนนั้นจะทำให้ยิ่งแข็งตัว และปวดมากขึ้นการนวดและยืดกล้ามเนื้อส่วนนั้น
จะช่วยให้ตะคริวหายเร็วขึ้น ถ้าเป็นขณะนอนหลับ ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดจนสะดุ้ง
ตื่นโดยทั่วไป จะเป็นอยู่เพียงไม่กี่นาทีก็หายได้เอง และไม่มีความผิดปกติอื่น ๆ
เกิดร่วมด้วย เมื่อหายแล้วผู้ป่วยจะรู้สึกเป็นปกติทุกอย่าง

สิ่งตรวจพบ
กล้ามเนื้อเกร็งแข็ง

การรักษา

1. ขณะที่เป็นตะคริว ให้ทำการปฐมพยาบาล โดยใช้มือนวดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว หรือยืดกล้ามเนื้อส่วนนั้นให้ตึง เช่น ถ้าเป็นตะคริวที่น่องให้เหยียดหัวเข่าตรง และดึงปลายเท้ากระดกเข้าหาเข่าให้มากที่สุด ถ้าเป็นตะคริว ที่ต้นขาให้เหยียด
หัวเข่าตรง ยกเท้าขึ้นให้พ้นจากเตียงเล็กน้อยและกระดกปลายเท้าลงล่าง
(ไปทางด้านตรงข้ามกับหัวเข่า)

2. ถ้าเป็นตะคริวขณะเข้านอนตอนกลางคืนบ่อย ๆ (เช่น หญิงที่ตั้งครรภ์
คนสูงอายุ) ก่อนนอนควรดื่มนมให้มากขึ้นและยกขาสูง (ใช้หมอนรอง) จาก
เตียงประมาณ 10 ซม.(4 นิ้ว) ในหญิงตั้งครรภ์ อาจให้ยาเม็ดแคลเซียม
แลกเทตกินวันละ 1-3 เม็ด

3. ถ้าเป็นตะคริวจากการเสียเกลือโซเดียม (เช่น เกิดจากท้องเดิน อาเจียน
เหงื่อออกมาก) ควรให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ ถ้าดื่มไม่ได้ ควรให้น้ำเกลือนอร์มัลซาไลน์ทางหลอดเลือดดำ

4. ถ้าเป็น ๆ หาย ๆ บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นขณะเดินนาน ๆ ควรแนะนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุ อาจมีความ
ผิดปกติเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือดที่ขา หรือมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
จากเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคอื่น ๆ ในผู้สูงอายุที่เป็นตะคริวตอน
กลางคืนเป็นประจำ ควรให้กินไดเฟนไฮดรามีน ขนาด 50 มก ก่อนนอนอาจช่วยป้องกันไม่ให้เป็นตะคริวขณะเข้านอนได้

1 ความคิดเห็น:

Little Dolphin กล่าวว่า...

เจ๋งมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆเลยค่ะ.........
ข้อมูลดีมากๆๆๆเลยค่ะ..
ขอบคุณนะคะ...